วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Law Of The Game (กติการักบี้ฟุตบอล)

สนาม ( The Ground )
ขนาดสนาม ก. สนามการเล่นไม่เกิน 100 เมตร กว้างไม่เกิน 70 เมตร ในเขตประตูยาวไม่เกิน 22 เมตร ข. ความยาวและความกว้างของพื้นที่การเล่นดูได้จากแผนภูมิและต้องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค. พื้นที่ระหว่างเส้นประตูกับเส้นลูกตายต้องไม่น้อยกว่า 10 เมตร เส้นสนาม ก. เส้นทึบ ประกอบด้วย เส้นประตู เส้น 22 เมตร เส้นกึ่งกลางสนาม เส้นข้างสนาม ข. เส้นประ ประกอบด้วย เส้น 10 เมตร เส้น 5 เมตร รูปแบบของเสาและประตูและคาน ก. เสาประตู กว้าง 5.6 เมตร ข. คานถูกวางไว้ระหว่างเสาทั้งสองอยู่เหนือพื้น 3 เมตร ค. ความสูงของเสาอย่างน้อย 3.4 เมตร จากคานขึ้นไป ง. เบาะหุ้มเสาเมื่อติดกับเสาประตูแล้วต้องมีความหนาไม่เกิน 300 มิลลิเมตร


บอล ( The Ball )
รูปร่าง ของลูกบอลต้องเป็นรูปไข่ และทำดัวยวัตถุ 4 ชิ้นประกอบกัน ขนาด ความยาว 280-300 มม. เส้นรอบวง (ด้านยาว) 760-790 มม. เส้นรอบวง (ด้านกว้าง) 580-620 มม. วัสดุ เป็นหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ที่มีลักษณะที่คล้ายหนังไม่ติดโคลนและง่ายต่อการจับ น้ำหนัก 400-440 กรัม ความดันลม 0.67-070 กก.ต่อ ลบ.ซม. หรือ 9 1/2 – 10 ปอนด์ต่อ ลบ.นิ้ว


จำนวนผู้เล่น ( Number Of Player – The Team )
ทีม ( team ) ทีมหนึ่งจะมีผู้เล่น 15 คน ซึ่งลงเล่นในสนามรวมทั้งผู้เล่นสำรองเพื่อเปลี่ยนตัว การเปลี่ยนตัว เมื่อผู้เล่นเกิดบาดเจ็บจะถูกเปลี่ยนตัวโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ผู้เล่นสำรอง คือผู้เล่นี่เปลี่ยนลงไปแทนผู้เล่นในสนามตามกติกา จำนวนผู้เล่นในสนามมากที่สุด : ไม่เกิน 15 คน เมื่อมีผู้เล่นน้อยกว่า 15 คน อนุญาติให้มีผู้เล่นน้อยกว่า 15 คนได้แต่จะต้องมีผู้เล่นในสกรัมไม่น้อยกว่า 5 คนตลอดเกม การเปลี่ยนตัวถาวร ผู้เล่นที่บาดเจ็บสามารถเปลี่ยนผู้เล่นสำรองลงไปเล่นชั่วคราวได้แต่ถ้า เปลี่ยนตัวถาวรแล้วจะกลับลงไปเล่นอีกไม่ได้ การเปลี่ยนตัวชั่วคราวในกรณีผู้เล่นบาดเจ็บจะเปลี่ยนลงไปได้เมื่อเกิดลูกตาย และผู้ตัดสินอนุญาติ การเปลี่ยนตัวชั่วคราว ก. เมื่อผู้เล่นบาดเจ็บมีเลือดออก หรือมีแผลเป็นต้องออกมาปฐมพยาบาลกรณีนี้สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นลงไปเล่น ชั่วคราวได้โดยไม่นับจำนวนครั้ง หรือผู้เล่นที่เปลี่ยนตัว ข. ถ้าผู้เล่นที่เปลี่ยนลงไปชั่วคราวบาดเจ็บ ก็สามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้อีก ค. ถ้าผู้เล่นที่เปลี่ยนลงไปชั่วคราวทำผิดกติกาจนถูกให้ออกจากสนามผู้เล่นที่ ถูกเปลี่ยนไม่สามารถกลับลงมาเล่นได้

เครื่องแต่งกาย ( Player”s Clothing )
เครื่องแต่งกายของผู้เล่น คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้เล่นสวมใส่ เสื้อ กางเกงขาสั้นและกางเกงชั้นในและถุงเท้า เครื่องแต่งกายเพิ่มเติมของผู้เล่น ก.ผู้เล่นอาจจะสวมวัสดุที่ยิดหยุ่นและสามารถทำความสะอาดได้ ข.ผู้เล่นอาจจะสวมใส่เครื่องป้องกันหน้าแข้ง ภายในถุงเท้า ค.ผู้เล่นอาจจะใส่สนับข้อเท้าภายในถุงเท้า ซึ่งไม่ยาวเกิน 1 ส่วน 3 ของความยาวของหน้าแข้ง ง.ผู้เล่นอาจจะสวมถุงมือ ชนิดไม่มีนิ้ว จ.ผู้เล่นอาจจะสวมที่รองไหล่ที่ทำด้วยวัสดุที่นุ่มและบาง ซึ่งอาจจะเน้นติดกับเสื้อ ซึ่งไม่หนาเกิน 1 ซม. ฉ.ผู้เล่นอาจจะใส่ฟันยาง ช.ผู้เล่นอาจจะสวมเครื่องป้องกันศรีษะ ที่ทำจากวัสดุนุ่มและบาง ซ.ผู้เล่นอาจจะใช้ผ้าพันแผลเพื่อปิดแผลได้ ฌ.ผู้เล่นอาจจะพันผ้าเทปหรือวัสดุอื่น เพื่อป้องกันการบาดเจ็บได้ ปุ่มรองเท้า ก.ปุ่มรองเท้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน British Standard BS6366 1983 หรือมาตรฐานเทียบเท่า ข.ปุ่มรองเท้าต้องเป็นรูปทรงกลม และติดแน่นที่พื้นรองเท้า ค.ปุ่มของรองเท้าต้องมีขนาดดังนี้ ไม่ยาวเกิน 18 มม. วัดจากพื้น เส้นผ่าศูนย์กลางปลายปุ่มอย่างน้อย 10 มม.เส้นผ่าศูนย์กลางของฐานปุ่มอย่างน้อย 13 มม. เส้นผ่าศูนย์กลางของวงแหวนสวมเกลียวของปุ่มอย่างน้อย 20 มม ง.พื้นรองเท้าที่มีหลายปุ่มใช้ได้ แต่ต้องไม่แหลม

เวลา ( Time )
เวลาของการแข่งขัน ( Duration of a Math ) ในการแข่งขันแต่ละแมทช์ จะต้องไม่เกิน 80 นาที บวกกับเวลาที่เสียไป เวลาพิเศษ และสถานการณ์พิเศษแต่ละแมทช์ จะแข่งเป็น 2 ครึ่ง แต่ละครึ่งไม่เกิน 40 นาที ในเวลาของการเล่น ครึ่งเวลา ( Half Time ) หลังจากหมดครึ่งแรกแล้วจะเปลี่ยนข้าง มีเวลาพักไม่เกิน 10 นาที เวลาพิเศษของการเล่น ( Playing extra Time ) ในการแข่งขันอาจจะใช้เวลามากกว่า 80 นาที ถ้าสมาคมได้กำหนดไว้ว่าเป็นเวลาพิเศษ ในการเล่นเสมอกัน ในการแข่งขันแบบแพ้คัดออก

เจ้าหน้าที่แข่งขัน ( Match Officials )
ผู้ตัดสิน การแข่งขันทุกครั้ง จะอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่การแข่งขัน จึงประกอบด้วย ผู้ตัดสิน และผู้กำกับเส้น และให้รวมถึงผู้ตัดสินสำรอง และผู้กำกับเส้นสำรอง ทำหน้าที่ช่วย ผู้ตัดสิน ทางด้านเทคนิค ผู้ควบคุมเวลา แพทย์สนาม เจ้าหน้าที่เทคนิค เจ้าหน้าที่สนาม และเด็กเก็บลูก หน้าที่ของผู้ตัดสินก่อนการแข่งขัน ก.การเสี่ยงเลือกเล่น ผู้ตัดสินจะจักการเสี่ยงการเล่น ดดยให้หัวหน้าทีมทำการเสี่ยง ผู้ที่จะชนะการเสี่ยงจะเป็นผู้เลือกเตะเริ่มหรือเลือกแดน ถ้าผู้ชนะเลือกแดน อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้เตะเริ่มเล่น ข.การตรวจเครื่องแต่งกายผู้เล่น ผู้ตัดสินจะต้องตรวจเครื่องแต่งกายของผู้เล่นหรืออาจจะให้ผู้กำกับเส้นเป็น ผู้ตรวจก็ได้ ค.ผู้กำกับเส้น ผู้ตักสินอาจจะแนะนำผู้กำกับเส้นเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบหรือข้อตกลง ให้เข้าใจกัน ข้อจำกัดของผู้ตัดสิน ผู้ตัดสินจะต้องไม่ให้ข้อแนะนำทีมใดทีมหนึ่งก่อนการแข่งขัน ขณะแข่งขัน หน้าที่ของผู้ตัดสินในขณะแข่งขัน ก.ผู้ตัดสินจะสวมวิญญาณผู้พิพากษาให้เป็นไปตามกฏระเบียบกติกา ข.เมื่อฝ่ายจัการแข่งขันเป็นผู้ที่มีอำนาจในการใช้กฏระเบียบให้เป็นไปตามกติกาของ IRB ผู้ตัดสินจะต้องใช้กติกานี้ในการแข่งขัน ค.ผู้ตัดสินเป็นผู้รักษาเวลาควบคุมเวลา ง.ผู้ตัดสินเป็นผู้ควบคุมคะแนน จ.ผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาติให้ผู้เล่นออกนอกสนาม ฉ.ผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาติในการเปลี่ยนผู้เล่นในการเข้าไปในสนาม ช.ผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาติให้แพทย์ประจำทีม หรือผู้ช่วยแพทย์ประจำทีมเข้าไปในสนามตามกติกา ซ.ผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาติให้โค้ชเข้าไปในสนามระหว่างพักครึ่งเวลาเพื่อที่ได้นักกีฬา การโต้แย้งผู้ตัดสิน ผู้เล่นทุกคนต้องเครพการตัดสินของผู้ตัดสิน จะต้องไม่โต้เถียงการตัดสินใจของผู้ตัดสิน จะหยุดการเล่นทันทีที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีด ยกเว้นการเป่าเริ่มเล่น การตัดสินเปลี่ยนคำตัดสิน ผู้ตัดสินอาจจะเปลี่ยนการตัดสินเมื่อผู้กำกับเส้นยกธงได้สัญญาณหรือแสดงท่า ทางเมื่อเห็นการเล่นผิดกติกา ใบเหลืองและใบแดง ก.เมื่อผู้เล่นถูกเตือน ผู้ตัดสินจะให้ใบเหลือง ข.เมื่อผู้เล่นถูกให้ออกจากสนาม ผู้ตัดสินจะให้ใบแดง

รูปแบบการเล่น ( Mode Of Play )
โดยการเตะลูกที่วางบนพื้นสนามที่กึ่งกลางสนามไปให้ถึงเส้น 10 เมตรของฝ่ายตรงข้าม เมื่อเริ่มเล่นครึ่งเวลาแรก และครึ่งเวลาหลังเท่านั้น หลังจากเตะเริ่มเล่น ผู้เล่นที่อยู่ในสนามสามารถเล่นได้โดยการจับลูก วิ่งพร้อมลูก ส่งลูกเตะลูก ส่งลูกให้ผู้เล่นคนอื่น จับคู่ต่อสู้ แย่งลูก เก็บลูก ทำสกรัม รัค มอล แถวทุ่ม นำลูกไว้วางในเขตประตูฝ่ายตรงข้าม ซึ่งการเล่นจะต้องเป็นไปตามกติกาการแข่งขัน เมื่อฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ให้อีกฝ่ายหนึ่งมาเริ่มเล่นใหม่โดยการเตะลูกพร้อม (DROP KICK) ที่กึ่งกลางสนามไปให้ถึงเส้น 10 เมตรของฝ่ายที่ทำคะแนนได้ ถ้าฝ่ายเตะลูกเริ่มเล่น เตะลูกเข้าไปในเขตประตูของ ฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นไม่เอาลูกออกมาเล่นแล้วกดลูกในเขตประตูของตนเอง ให้ทำสกรัมที่กึ่งกลางสนาม ฝ่ายตรงข้าม เป็นฝ่ายใส่ลูกเข้าสกรัม

การได้เปรียบ ( Advantage )
กฏของการได้เปรียบจะเป็นส่วนหนึ่งของกติกาการแข่งขัน จุดประสงค์เพื่อให้การเล่นดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเกมหยุดน้อยที่สุด แม้จะมีการละเมิด หรือกระทำผิดกติกา ถ้าทีมที่ไม่ได้กระทำผิดได้เปรียบผู้ตัดสินจะไม่เป่าหรือหยุดการเล่น การได้เปรียบในการปฏิบัติ ก. ผู้ตัดสินจะเป็นผู้ตัดสินว่าทีมได้เปรียบการเล่นหรือไม่ผู้ตัดสินต้องมีความรอบคอบเมื่อมีการตัดสินใจ ข.การได้เปรียบในด้านเทคนิค หรือการได้เปรียบโอกาสในการเล่น ค.การได้เปรียบแดน หมายถึง การได้พื้นที่ ง.การได้เปรียบเทคนิคการเล่น หมายถึง อิสระจากฝ่ายตรงข้ามในการเล่นลูกตามที่เขาต้องการที่จะให้การได้เปรียบเกิดขึ้นเมื่อการได้เปรียบไม่เกิดขึ้น การได้เปรียบจะต้องชัดเจนและเป็นจริง ถ้าทีมที่ได้เปรียบแต่ไม่ได้เปรียบผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดหยุดเกม และกลับมาเล่น ณ. จุดที่มีการกระทำผิด หรือละเมิดกติกา การได้เปรียบไม่ได้ถูกนำมาใช้เมื่อ ก.โดนตัวผู้ตัดสิน การได้เปรียบจะไม่เกิดเมื่อลูกหรือผู้เล่นที่ถือลูกไปกระทบหรือโดนตัวผู้ ตัดสิน ข.ลูกออกจากช่องกึ่งกลางสกรัม ค.สกรัมหมุน มากกว่า 90 องศา ง.สกรัมแตก หรือยุบ ผู้ตัดสินต้องเป่านกหวีดทันที จ.ผู้เล่นถูกดันยกขึ้นในการทำสกรัม ผู้ตัดสินต้องเป่านกหวีดทันที เป่านกหวีดทันทีเมื่อไม่มีการได้เปรียบเกิดขึ้น การละเมิดกติกามากกว่า 1 ครั้ง ก.ถ้ามีการละเมิดกติกามากกว่า 1 ครั้ง โดยทีมเดิมผู้ตัดสินจะใช้กฏการได้เปรียบ ข.ถ้าการได้เปรียบจากการละเมิดกติกาของทีมหนึ่งแล้วอีกทีมหนึ่งเกิดกระทำผิดตามมาผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดทันทีและใช้การกระทำผิดอันแรก

การได้คะแนน ( Method Of Scoring )
วางทรัยได้ 5 คะแนน เตะลูกเข้าประตูหลังจากวางทรัยแล้วได้อีก 2 คะแนน เรียกว่าได้ 1 ประตู เตะลูกโทษ(PENETAL KICK)เข้าประตูได้ 3 คะแนน เตะลูกพร้อม (DROP KICK) เข้าประตูได้ 3 คะแนน (แต่การเตะลูกพร้อมจากลูกเตะกินเปล่า (FREE KICK) แม้จะเตะเข้าประตูก็ไม่ได้คะแนน)

การเล่นผิดกติกา ( Foul Play )
กติการในเกมส์รักบี้ ละเอียดมากผู้ตัดสินต้องสามารถรู้ทันการผิดกติกาทุกรูปแบบได้แก่ การแทกเกิลสูงกว่าระดับอก การกระโดดระหว่างถูกแทกเกิล การทำร้ายร่างกายนอกกติการ เช่น การเหยียบ การใช้ศอก การล้มเล่นลูก การพยายามทำลูกตาย การล้ำหน้าเข้าเล่นลูก การบังบอล



ล้ำหน้า / ไม่ล้ำหน้าในการเล่นทั่วไป ( Of Side / No Side In General Play )

ผู้เล่นที่อยู่ตำแหน่ง “ล้ำหน้า” หมายถึง ผู้เล่นที่อยู่หน้า “ลูกบอล” ขณะที่ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันกำลังเล่นอยู่ และเป็นผู้ถูกลูกหรือเล่นลูกครั้งสุดท้าย รวมทั้งฝ่ายเดียวกันที่อยู่ข้างหลังได้เตะลูกข้ามไปข้างหน้าแล้ว ก็ยังถือว่า “ล้ำหน้า” ผู้เล่นที่”ล้ำหน้า” อยู่ ต้องพยายามแสดงตัวว่าไม่เข้าเล่นบอลโดยถอยห่างจากบอล เอามือชูหรือวางบนหัว แล้วรีบกลับมาหลังบอลให้เร็วที่สุด

น๊อคออนหรือการส่งลูกไปด้านหน้า ( Knock On Or Throw Forward )
ผู้เล่นส่งลูกไปข้างหน้าของตนเอง หรือยื่นลูกไปให้เพื่อนร่วมทีมที่อยู่ข้างหน้าตนเอง เรียกว่า THROW-FORWARD ผู้เล่นรับลูกหรือเอามือไปโดนลูก แล้วลูกนั้นกระเด็นไปข้างหน้าไปถูกกับพื้นสนามหรือไปโดนมือหรือตัวผู้เล่น ฝ่ายตรงข้าม เรียกว่า KNOCK-ON หากมีการ THROW-FORWARD หรือ KNOCK-ON ฝ่ายทำผิดจะเสีย สกรัม

การเตะเริ่มและการเริ่มเล่นใหม่ ( Kick – Off And Restart Kicks )
โดยการเตะลูกที่วางบนพื้นสนามที่กึ่งกลางสนามไปให้ถึงเส้น 10 เมตรของฝ่ายตรงข้าม เมื่อเริ่มเล่นครึ่งเวลาแรก และครึ่งเวลาหลังเท่านั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ให้อีกฝ่ายหนึ่งมาเริ่มเล่นใหม่โดยการเตะลูกพร้อม (DROP KICK) ที่กึ่งกลางสนามไปให้ถึงเส้น 10 เมตรของฝ่ายที่ทำคะแนนได้ ถ้าฝ่ายเตะลูกเริ่มเล่น เตะลูกเข้าไปในเขตประตูของ ฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นไม่เอาลูกออกมาเล่นแล้วกดลูกในเขตประตูของตนเอง ให้ทำสกรัมที่กึ่งกลางสนาม ฝ่ายตรงข้าม เป็นฝ่ายใส่ลูกเข้าสกรัม

ลูกอยู่บนพื้น : ไม่มีการแท็คเกิ้ล ( Ball On The Ground : No Tackle )
เมื่อมีลูกตกอยู่ในสนาม จากการ แตะ หรือ knock back ถือว่าลูกยังไม่ตายและไม่มีผู้เกี่ยวข้อง ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าครอบคองบอลได้โดยการก้มเก็บหรือ เตะเลี้ยงไป หรือ การล้มคร่อมลูก เพื่อสร้างรัคขึ้น ฝ่ายที่เข้าถึงลูกได้ก่อนในกรณีเกิดรัคถือว่าฝ่ายนั้นนำลูกเข้าไปในรัค

การแท็คกิ้ล : ล้มลงสู่พื้น ( Tackle : Ball – Carrier Brough To Ground )
เมื่อมีการแทกเกิลเกิดขึ้นและการแทกเกิลสมบูรณ์ จะเกิดกลุ่มรัคขึ้นในกรณีที่ลูกไม่ Knock ON ผู้ทำการแทกเกิลต้องรีบลุกขึ้น ไม่บังทางการเล่นรัค ผู้ถูกแทคเกิลต้องรีบปล่อยบอล และรีบลุกมาเล่น หากยังไม่มีกลุ่มยื้อแย่งเกิดขึ้น คนที่ยืนอยู่สามาถคว้าบอลไปเล่นต่อได้ทันที

รัค ( Ruck )
รัค หมายถึง การเล่นอีกแบบหนึ่งที่ผู้เล่นหนึ่งคนหรือมากกว่จากผู้เล่นทั้งสองฝ่ายที่ยืน ด้วยเท้าทั้งสองบนพื้นมีการมัดกันหรือโอบรัดกันเหนือลูกบอล การทำรัค ผู้เล่นที่ร่วมในกลุ่มรัค เมื่ออยู่ในรัคต้องใช้เท้าเพื่อครอบครองลูกไว้โดยไม่ผิดกติกา รูปแบบรัค รัดิกิดขึ้นได้ในสนามเล่นเท่านั้น ผู้เล่นที่ยืนอยู่บนพื้นอย่างน้อยหนึ่งคนโอบรัดกับฝ่ายตรงข้าม สรุปรัค: ลูกอยู่บนพท้นมีผู้เล่นอย่างน้อย 2 คน ยืนอยู่ด้านบนโดยต้องมาจากทั่งสองฝ่าย (ฝ่ายละ 1 คน) การเข้าร่วมในรัค ก. การทำรัค การเข้าร่วมเล่นเป็นส่วนหนึ่งในรัคจะต้องไม่ให้ศรีษะและไหล่อยู่ต่ำกว่า สะโพก บทลงโทษลูกกินเปล่า ข. ผู้เล่นที่เข้าร่วมในรึคจะต้องมัดด้วยแขนอย่างน้อยหนึ่งข้างกับฝ่ายเดียวกัน ค.การวางมือบนผู้เล่นคนอื่นในรัคไม่ใช่การมัด ง. ผู้เล่นทุกคนที่ทำรัคจะต้องยืนด้วยเท้าทั่งสอง บทลงโทษ : ลูกโทษ การทำรัค ก. ผู้เล่นในรึคจะต้องพยายามยืนด้วยเท้าทั่งสอง ข. ผู้เล่นจะต้องไม่เจตนาล้มหรือยุบรัค เป็นการเล่นที่อันตราย ค. ผู้เล่นจะต้องไม่เจตนาล้มรัค เป็นการเล่นที่อันตราย ง. ผู้เล่นจะต้องไม่กระโดดทับลงไปในกลุ่ม บทลงโทษ : ลูกโทษ ซ . ผู้เล่นจะไม่ให้ศรีษะ และไหล่ต่ำหว่านะโพกของตนเอง บทลงโทษ : ลูกกินเปล่า ฌ. ผู้เล่นที่อยู่ในรัคต้องไม่เหยียบผู้เล่นที่นอนอยู่บนพื้นต้องพยายามก้าว ข้าม บทลงโทษ : ลูกโทษสำหรับการเล่นที่เป็นอันตราย การกระทำผิดอื่นๆ ในรัค ก. ผู้เล่นจะต้องไม่เอาลูกกลับเข้าไปในรัคอีก บทลงโทษ : ลูกกินเปล่า ข. ผู้เล่นจะต้องไม่ใช้มือเล่นลูกในรัค ค. ผู้เล่นต้องไม่เก็บลูกในรัคด้วยขาของเขา ง.ผู้เล่นที่นอนอยู่กับพื้นใกล้รัคต้องพยายามเคลื่อนตัวออกไปและไม่ไปรบกวน การเล่นลูกในรัค หรือขณะที่ลูกจะออกจากรัค จ. ผู้เล่นจะต้องไม่ล้มหรือทับลูกที่กำลังจะออกจากรัค บทลงโทษ:ลูกกินเปล่า ฉ. ผู้เล่นจะต้องไม่แสดงหรือกระทำให้ฝ่ายตรงข้ามคิดว่าลูกออกจาก ในขณะที่ยังมีสภาพเป็นรัคอยู่ บทลงโทษ:ลูกกินเปล่า การล้ำหน้าที่รัค ก.เส้นล้ำหน้ามี2เล่นคือเส้นที่ขนานกับเส้นประตูของแต่ละฝ่ายและอยู่หลัง เท้าสุดท้ายของผู้เล่นในรัคแต่ละฝ่าย ข. ผู้เล่นที่อยู่ในรัคถ้าไม่ก็ต้องอยู่หลังเล่นส้ำหน้าโดยทันที ถ้าผู้เล่นคนใดยังคงอยู่หน้ารัค ผู้เล่นคนนี้นจะล้ำหน้า ค. ผู้เล่นที่เข้าาวมในรัค ผู้เล่นทั่งหมดที่เข้าาวมในรัค จะต้องอยู่หลังเท้าสุดท้ายของผู้เล่นฝ่ายเดียวกันถ้าผู้เล่นที่อยู่ในรัคไป อยู่ในฝ่ายตรงข้ามหรืออยู่หน้าเพื่อนผู้เล่นจะล้ำหน้า บทลงโทษ:ลูกโทษ ณ จุดที่ฝ่ายตรงข้ามล้ำหน้า ง. ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในรัค ถ้าผู้เล่นอยู่ห้าเส้นล้ำหน้าและไม่ได้เข้าร่วมในรัคผู้เล่นคนนี้นจะต้องถอย มาอยู่หลังเส้นล้ำหน้าทันที บทลงโทษ:ลูกโทษ ณ จุดที่ฝ่ายตรงข้ามล้ำหน้า จ. ผู่เล่นที่ถอนตัวออกจากรัค ถ้าผู้เล่นที่ถอนตัวออกมาจากรัค จะต้องรีบถอนตัวออกมาทันทีหลังเส้นล้ำหน้า ผู้เล่นที่ไม่ล้ำอาจจะเข้าร่วมในรัคได้อีก แต่ต้องเข้าร่วมหลังเท้าสุดท้ายตามแนวเส้นล้ำหน้า บทลงโทษ : ลูกโทษ ณ จุดที่ฝ่ายตรงข้ามล้ำหน้า รัคสิ้นสุด หรือหมดสภาพ รัคจะหมดสภาพลงเมื่อลูกได้ออกจากรัค หรือเมื่อลูกอยู่บนเขตประตู รัคยังไม่หมดสภาพ ก.รัคยังไม่หมดสภาพเมื่อลูกไม่สามารถเล่นต่อไปได้แต่จะให้ทำสกรัมต่อไปทีม ที่ทำให้รัคเคลื่อนไปข้างหน้าก่อนที่ลูกไม่ออกจะเป็นฝ่ายได้ใส่ลูกหรือผู้ ตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าทีมใดเป็นฝ่ายใส่ลูกก่อนก็ให้ทีมที่เคลื่อนไป ข้างหน้าก่อนเกิดรัคจะเป็นฝ่ายได้ใส่ลูก ข. ก่อนผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้สกรัม ผู้ตัดสินจะตัองพิจารณาว่าลูกสามารถออกมาจากรัคได้หรือไม่ซึ่งอาจจะใช้เวลา บ้าง แต่ถ้าเห็นว่ลูกไม่สามารถออกจารัคได้ก็สั่งให้ทำสกรัม

มอล ( Maul )
มอล (MAUL) เกิดขึ้นเมื่อมีผู้เล่นทั้งสองฝ่ายอย่างน้อยฝ่ายละ 1 คน มายืนล้อมผู้เล่นที่ยืนกอดลูกอยู่เพื่อแย่งลูกในมือนั้น ถ้ามีหลายๆ คนในกลุ่มมอล มือผู้เล่นจะต้องโอบมัดผู้เล่นฝ่ายเดียวกันอย่างน้อย 1 ข้าง (ถ้าลูกตกถึงพื้นจะกลายเป็นรัค) ส่วนกติกาจะเหมือนกันรัค

มาร์ค ( Mark )
มาร์ค (Mark) เกิดขึ้นเมื่อทีมหนึ่งได้เตะลูกเข้าในเขตเส้น 22 ม. ของฝ่ายตรงข้าม และฝ่ายตรงข้ามสามารถรับลูกได้โดยลูกไม่ตกสู่พื้นก่อน แล้วตัดสินใจตะโกนมาร์ค ฝ่ายที่ได้มาร์ค จะได้ลูกฟรีคิกส์หน้าเส้น 22 ม. ของฝ่ายตัวเอง

ลูกบอล, แถวทุ่มและล้ำหน้าที่แถวทุ่ม ( Touch, Line Out And Line Out Off – Side )

แถวทุ่ม ผู้เล่นอย่างน้อยฝ่ายละ 2 คน (นิยมเล่นกันฝ่ายละ 7 คน) มาเข้าแถวเป็นแนวเดียวกันทั้งสองฝ่ายต้องยืนห่างกัน 1 เมตร รอกระโดดขึ้นแย่งลูกที่จะโยนเข้ามากลางช่องแถวทุ่มที่เว้นห่างกัน 1 เมตรนั้น (ฝ่ายเดียวกันยืนชิดกันหรือห่างกันก็ได้) จำนวนผู้เล่นในแถวทุ่ม บังคับโดย ฝ่ายที่โยนลูกเข้ามาจะยืนกี่คนก็ตาม อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องยืนอยู่ในแถวทุ่มจำนวนคนเท่ากันหรือน้อยกว่าได้ (จำนวนคนมากกว่าไม่ได้) คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องจะต้องยืนห่างจากแถวทุ่มออกไปทั้งสองฝ่ายเป็นระยะ 10 เมตร และจะต้องอยู่ห่าง 10 เมตร เช่นนี้เรื่อยไป (ขึ้นมาเล่นไม่ได้) จนกว่า แถวทุ่ม และรัคหรือมอลที่เกิดจากแถวทุ่มจะส่งออกมาให้ ผู้เล่นที่ยืนรอรับลูกอยู่ (สกรัมฮาล์ฟ) หรือจนกว่ากลุ่มรัคหรือมอลที่เกิดจากแถวทุ่มจะเคลื่อนไปพ้นเส้นแนวที่ทุ่ม ลูกเข้ามาทั้งกลุ่ม (เส้นแนวทุ่มลูกเข้าแถวทุ่มคือจุดที่ผู้กำกับเส้นยังคงยืนอยู่ที่ข้างเส้น ออกริมสนาม) เมื่อโยนลูกเข้ามาตามแนวทุ่มลูกกลางแถวทุ่ม ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายที่กระโดดขึ้น ใช้มือเดียว ปัดลูกไปให้ฝ่ายของตน จะต้องใช้มือข้างที่อยู่ด้านในของแถวทุ่มปัดลูกเท่านั้น การทุ่มลูกเร็ว (QUICK THROW-IN) มีข้อบังคับพิเศษ คือ 1. จุดที่โยนลูกเข้าสนามเล่นจะโยนตรงไหนก็ได้ ระหว่างจุดที่ลูกออกไปจนตลอดแนวเส้นริมสนามจนถึงเส้นประตูของฝ่ายที่ได้ทุ่ม ลูก 2. ไม่ต้องรอให้มีผู้เล่นมาเข้าแถวทุ่ม ไม่ต้องมีผู้เล่นตรงที่จะโยนลูกเข้าไปก็ได้ นั่นคือ เล่นเองโดยคนที่โยนลูกเข้าไปได้ 3. ใช้ลูกที่ออกไปลูกนั้น มาโยนเข้าสนามเล่น คนที่โยนลูกเข้าสนาม ต้องไปเก็บลูกนั้นมาด้วยตนเอง ต้องโยนลูกเข้าสนาม ให้ตั้งฉากกับเส้นออกริมสนาม ต้องโยนลูกเข้าสนามไม่น้อยกว่า 5 เมตร (ต้องทำให้ถูกต้องทั้งหมดในข้อ 3) ที่แถวทุ่ม แบ่งพวกล้ำหน้าออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ล้ำหน้ากลุ่มที่ร่วมอยู่กับแถวทุ่ม เส้นแนวกึ่งกลางแถวทุ่มอยู่ระหว่างเส้นจากริมสนาม 5 เมตรถึงเส้นจากริมสนาม 15 เมตร เป็นเส้นล้ำหน้าในแถวทุ่ม พวกที่ร่วมอยู่กับแถวทุ่มทั้งหมดจะก้าวเท้าล้ำไปยังฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ รวมทั้งจะเคลื่อนตัวล้ำเส้น 15 เมตร จากริมสนามไปไม่ได้เช่นกันจนกว่าแนวทุ่มจะสิ้นสุดหรือลูกออกจากแถมทุ่มแล้ว กลุ่มที่ 2 ล้ำหน้ากลุ่มที่ไม่ได้ร่วมเข้าแถวทุ่ม หมายถึง พวกกองหลังและพวกที่ถอยลงมาจากกลุ่มแถวทุ่ม พวกนี้จะต้องอยู่ห่างจากแถวทุ่มออกมา 10 เมตร โดยมีเส้นสมมติลากขนานกับเส้นประตูตลอดความกว้างของสนามเป็นเส้นล้ำหน้าของ กลุ่มนี้ห่างจากกลุ่มของพวกที่ร่วมอยู่กับแถวทุ่ม 10 เมตร พวกที่ไม่ได้ร่วมเข้าแถวทุ่ม (กองหลังนั่นเอง) จะก้าวเท้าขึ้นไปเล่นได้เมื่อแถวทุ่มสิ้นสุด รัคและมอลเกิดจากแถวทุ่มส่งลูกออกมาแล้ว

สกรัม (Scrum)
ผู้เล่นอย่างน้อยฝ่ายละ 5 คน (นิยมเล่นฝ่ายละ 8 คน) ต้องมีแถวหน้า 3 คนเสมอแถวที่สองอีก 4 คน แถวหลังมักมีคนเดียวโอบมัดให้แน่นช่วยกันดันไปข้างหน้าแย่งลูกที่ใส่เข้าไป ในช่องกลางระหว่างสกรัม ใช้เท้าเพียงอย่างเดียวเขี่ยลูกกลับไปให้ฝ่ายตนเอง จะทำสกรัมเมื่อ:- 1. ผู้เล่นส่งลูกไปข้างหน้าของตนเอง หรือยื่นลูกไปให้เพื่อนร่วมทีมที่อยู่ข้างหน้าตนเอง (THROW-FORWARD) 2. ผู้เล่นรับลูกหรือเอามือไปโดนลูก แล้วลูกนั้นกระเด็นไปข้างหน้าไปถูกกับพื้นสนามหรือไปโดนมือหรือตัวผู้เล่น ฝ่ายตรงข้าม (เรียกว่า KNOCK-ON) 3. เกิดการสุมกันเอาลูกออกมาเล่นต่อไปไม่ได้ 4. เมื่อผู้เล่นฝ่ายรุกพยายามกดลูกวางทรัยแต่ลูกไม่แตะพื้นสนามเล่นในเขตประตู ของฝ่ายรับหรือลูกอยู่บนตัวผู้เล่นฝ่ายรับ ล้ำหน้า (OFF-SIDE) ที่สกรัม เส้นล้ำหน้าของฝ่ายตนเอง จะเป็นเส้นสมมติที่ลากขนานกับเส้นประตูอยู่ที่เท้าสุดท้ายของผู้เล่นในกรัม ของฝ่ายตน หากมีผู้เล่นกองหลังคนใดก้าวเท้าล้ำเส้นสมมตินี้ขึ้นไปข้างหน้าจะถือว่าล้ำ หน้าและเสียลูกโทษ ณ จุดนั้น ยกเว้น ผู้ใส่ลูกเข้าสกรัมทั้งสองฝ่าย (สกรัมฮาล์ฟ) ให้ใช้ลูกบอลที่อยู่ในสกรัมเป็นแนวล้ำหน้าของทั้ง 2 คน

ลูกโทษ และลูกกินเปล่า ( Penalty And Free Kick )
ลูกโทษ เกิดขึ้นเมื่อมีการทำผิดกติกาในเกมส์ เช่น การล้มเล่นลูก การล้ำหน้า การเล่นรุ่นแรง ฝ่ายที่ได้ลูกโทษจะมีโอกาสเตะกินระยะ หรือแตะเปิด(Tab) ลูกเล่น หากแตะกินระยะ ในเส้น 22 ม. จะได้ทุ่มเข้า ณ จุดที่ลูกออก หากแตะกินระยะ นอกเส้น 22 ม. จะได้ทุ่มเข้า ณ จุดที่เตะ หรือจุดที่ตกสู่พื้นสนามก่อนลูกออก หรือ ตั้งเตะเข้าประตูจะได้ 3 แต้ม ฝ่ายที่เสียลูกโทษต้องรีบถอยลงไป 10 เมตร จากจุดที่เสียโทษ หากถอยไม่ถึงไม่สามารถเล่นลูกได้ ถ้าพยายามเล่นลูก หรือขัดขวางทีมได้โทษ จะเสียโทษซ้ำ ลูกกินเปล่า เกิดขึ้นเมื่อมีการทำผิดได้แก่ การหลอกว่าบอลออกจากสกรัม รัค มอล การเข้าสกรัมในลักษณะเป็นอันตรายต่อตัวเอง ฝ่ายที่ได้ลูกกินเปล่าสามารถเตะกินระยะได้ แต่จะไม่ได้เป็นฝ่ายทุ่ม หากเตะเข้าประตูไม่นับเป็นประตู ยกเว้นจะแทปเปิดแล้ว DropKick เข้าประตู

เขตประตู ( In – Goal )
เขตประตู เป็นพื้นที่เข้าทำแต้มของฝ่ายตรงข้าม นับตั้งแต่เส้นประตู จากขอบสนามซ้ายถึงขวาสุด และเสาประตูด้วยกัน สามารถกำหนดแตกต่างได้ในแต่ละสนามแต่ต้องไม่สั้นหรือมากกว่ากติกากำหนด ฝ่ายบุกสามารถกดลูกสู่พื้นสนามได้ 1 ทรัย จะได้ 5 คะแนน การดันสกรัมให้ลูกในสกรัมข้ามเส้นไทร์ได้ 1 ทรัย จะได้ 5 คะแนน หากมีการKncok on หรือ Trow-Forward ให้ทำสกรัมที่เส้น 5 เมตร จากเส้นประตู

ข้อมูลจาก https://rbnisarat.wordpress.com

เทคนิคการเล่นกีฬาประเภทนี้

สำหรับกีฬารักบี้ฟุตบอลนั้นก็มีเทคนิค และแบบฝึกทักษะต่างๆที่หลากหลายไม่ต่างจากกีฬาประเภทอื่นๆเช่นกัน เราลองมาศึกษาและนำเอาขั้นตอนไปเป็นแนวทางในการฝึกทักษะพื้นฐานจากวิดีโอได้เลยครับ

การฝึกรับ - ส่งบอล


การฝึกTackle

การฝึกแถวทุ่ม

การฝึกมอล


การฝึกรัค

การฝึกเข้าสกรัม





แนวทางการเล่นกีฬาประเภทนี้ให้เก่ง

          การเล่นกีฬารักบี้ฟุตบอลนั้นใครๆก็สามารถเล่นได้ แต่จะเล่นได้ดีเพียงใดนั้นเป็นสิ่งที่มีได้ไม่เท่ากัน เพราะเราต้องอาศัยระยะเวลาในการฝึก  ผู้เล่นจะต้องเข้าใจและเรียนรู้จนสามารถปฏิบัติในทักษะที่จำเป็นซึ้งเป็นพื้นฐานของการเล่น แต่ทักษะพื้นฐานเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอในการเล่นผู้เล่นยังจะต้องเข้าอกเข้าใจกติกาเป็นอย่างดี ได้รับการฝึกฝนในแบบแผนเกมส์การเล่นจากผู้ฝึกสอนและยังจะต้องใช้เวลาหาประสบการณ์ในสนาม ตลอดจนเป็นผู้ที่มีจิตใจงามอีกด้วยจึงจะพอถือได้ว่าเป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอลได้  สำหรับแนวทางการเล่นกีฬาประเภทนี้ให้เก่ง ก็คงหนีไม่พ้นการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วยซึ้งเป็นกระบวนการในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักกีฬาให้ก้าวไปสู่ความพร้อมและความสมบูรณ์สูงสุด ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจและเทคนิคทักษะกีฬาในช่วงการแข่งขันตลอดจนพัฒนาไปสู่ความสามารถสูงสุดแต่ละบุคคลอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยองค์รวมของศาสตร์สาขาต่างๆ  ดังนี้

1. กายวิภาคศาสตร์
กายวิภาคศาสตร์คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย ที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างสัดส่วนของร่างกายนักกีฬาแต่ละคน ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หัวใจ ปอด หลอดเลือด เม็ดเลือดแดง เซลล์ประสาท เป็นต้น

2. สรีรวิทยา
สรีรวิทยา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานหรือการทำหน้าที่ของอวัยวะระบบต่างๆของร่างกายซึ่งสามารถกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้น ได้ด้วยระบบการฝึกที่ถูกต้องเหมาะสมกับประเภทกีฬาและนักกีฬาแต่ละบุคคล เช่น ความสามารถในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดและระบบพลังงานที่ใช้ในการแข่งขัน แต่ละประเภทกีฬา เป็นต้น รวมทั้งสาเหตุที่นำไปสู่การเสื่อมสภาพของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย

3. ชีวกลศาสตร์
ชีวกลศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น และข้อต่อ เพื่อนำไปสู่การใช้แรง ในการเคลื่อนไหวหรือปฏิบัติทักษะ อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในแต่ละชนิดหรือประเภทกีฬา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านเทคนิคทักษะกีฬาแต่ละบุคคลได้อย่างกลมกลืนกับระดับความสามารถที่เป็นจริงของนักกีฬาผู้นั้นมิใช้ต้องทำตามหรือเลียนแบบแช้มป์ โดยที่มิได้เรียนรู้สภาพพื้นฐาน การฝึกซ้อมและความแตกต่างของร่างกายในแต่ละบุคคล

4. ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา
ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้หลักการในการในการกำหนดความหนักเบา รูปแบบวิธีการฝึก เข้าไว้ในโปรแกรมการฝึกซ้อมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละบุคคล โดยจะต้องพิจารณาและคำนึงถึงอายุ เพศ วัย ประสบการณ์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งระบบพลังงานสมรรถภาพทางกาย เฉพาะประเภทกีฬา ความสามารถในการเรียนรู้รับรู้ของนักกีฬาแต่ละบุคคล เพื่อนำไปสู่การวางแผนการฝึกซ้อมในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละบุคคล

5. โภชนาการทางการกีฬา
โภชนาการทางกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าของอาหารแต่ละชนิด และรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้สัดส่วนทั้งในด้านปริมาตร และคุณภาพในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อมและแข่งขันซึ่งจะมีผลต่อการใช้พลังงานในการเคลื่อนไหวการเก็บสำรองพลังงานไว้ในกล้ามเนื้อ การชดเชยพลังงานในระหว่างการฝึกซ้อมและแข่งขันและภายหลังการฝึกซ้อมแข่งขันซึ่งจะช่วยเสริมโครงร่างและความสามารถของร่างกายให้คงสภาพแข่งแกร่งยิ่งขึ้น

6. จิตวิทยาการกีฬา
จิตวิทยาการกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดการควบคุมทักษะการเคลื่อนไหวและทักษะกีฬารวมถึงการตัดสินใจในแต่ละสถาณการณ์ ของการฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างถูกต้องเป็นผลดีต่อเกมส์การแข่งขันและการแสดงออกซึ่งทักษะและความสามารถของนักกีฬาได้อย่างสอดคล้อง สัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

7. เวชศาสตร์การกีฬา
เวชศาสตร์การกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟู สภาพร่างกายให้กับนักกีฬาทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการฝึกซ้อมเพื่อช่วยเสริมให้สมรรถภาพทางกายอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะใช้งานได้ดีที่สุด

8. เทคโนโลยีทางการกีฬา
เทคโนโลยีทางการกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประดิษฐ์การใช้เครื่งมือและอุปกรณ์ช่วยสนับสนุนในการพัฒนาส่งเสริมตลอดจนการแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องให้กับนักกีฬาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพให้กับผู้ฝึกสอนกีฬาและนักกีฬารวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนไหวทางด้านเทคนิกทักษะ การประเมินผลและรายงานผลการแข่งขันที่เป็นประโยชน์ถูกต้องรวดเร็วให้กับผู้ฝึกสอนกีฬา นักกีฬา และผู้ชม
ข้อมูลจาก http://www.unigang.com

ตัวอย่างคลิปวีดิโอ ของการนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้เพื่อพัฒนาทักษะ และสมรรถภาพของนักกีฬา


นักกีฬาไทยที่ประสบความสำเร็จ

วรงค์กรณ์ คำเกิด (หัวกล้วย) ผู้เล่นทีมราชนาวี  และกัปตันทีมชาติไทย
ตำแหน่งฟูลแบ็กนั้นเปรียบได้กับปราการด่านสุดท้ายของฝ่ายตรงข้าม เสมือนเข็มทิศของทีมยามเล่นเกมรุกคอยดูว่าเพื่อนในทีมเข้าประจำที่ถูกตำแหน่งหรือเปล่า เป็นตำแหน่งที่ควรจะใช้ผู้เล่นที่มีประสบการณ์ ซึ่งถ้าได้ผู้เล่นที่มีคุณสมบัติครบเครื่องอย่างมิสเตอร์กัปตันคนนี้เพื่อนๆ ในทีมจะอุ่นใจที่สุด สำหรับ วรงค์กรณ์ รักบี้ให้แต่สิ่งที่ดีๆ กับชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนที่ดี มหาวิทยาลัยที่ดี ไปจนถึงการงานที่ดี ซึ่งตอนนี้เขาลาออกจากงานที่เคยทำเพื่อมาเล่นประจำให้กับสโมสรราชนาวีแบบเต็มตัว และถูกบรรจุเข้าไปเป็นทหารเรือเรียบร้อย วันที่ภาคภูมิใจที่สุดก็คือเมื่อฝึกซ้อมจนติดทีมชาติครั้งแรกและทำผลงานโดดเด่นได้โอกาสลงเล่นอย่างสม่ำเสมอและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนได้กลายเป็นตัวหลักของทีม








ข้อมูลจาก http://loptimumthailand.com




วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

นักกีฬาที่โปรดปราน

แดน คาร์เตอร์ (Daniel William "Dan" Carter) ฟลายฮาล์ฟทีมชาตินิวซีแลนด์
วันเกิด : 5 มีนาคม 1982 (อายุ 34 ปี)  สถานที่เกิด : Leeston, Canterbury, New Zealand


คาร์เตอร์ เคยได้รับการขนานนามให้เป็นฟลายฮาล์ฟที่เก่งที่สุดในโลก และเป็นส่วนหนึ่งของทีมชุดแชมป์โลกเมื่อปี 2011 ที่สำคัญ คาร์เตอร์ ยังครองสถิติทำแต้มสูงสุดตลาดกาลในนามทีมชาติอีกด้วย

ต้องเรียนก่อนนะครับว่าการทำคะแนนในเกมกีฬารักบี้นั้นมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน
           
- อย่างแรกคือการนำเอาลูกไปวางด้านหลังเส้นประตู ซึ่งอันนั้นเรียกว่า "วางทรัย" แบบนี้จะได้ 5 จุด (รักบี้เรียกแต้มว่าจุด) และหลังจากวางทรัยสำเร็จนั้น ทีมที่วางจะได้เตะเปลี่ยน ซึ่งการเตะลักษณะนี้จะได้รับคะแนนพิเศษ 2 จุด

- ส่วนอีกแบบก็คือ ถ้าเป็นการเตะลูกโทษ รวมถึงการ ดร็อปคิก ในลักษณะโอเพ่นเพลย์ หรือที่เกมยังเปิดอยู่นั้น แบบนั้นจะได้ 3 จุด ซึ่งการทำแต้มแบบนี้เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยเห็นกันแล้ว เพราะมันคือจังหวะที่ จอนนี่ วิลกินสัน เตะให้ อังกฤษ เป็นแชมป์โลกเมื่อปี 2007 นั่นเอง ซึ่งตำแหน่งตัวเตะนี่แหละคือหน้าที่หลักของ คาร์เตอร์ ในทีมชาตินิวซีแลนด์  
ข้อมูลจาก http://www.siamsport.com

เรามาชมทักษะการสร้างเกม การเตะ และการทำคะแนนของผู้เล่นที่ได้ชื่อว่าเป็น "ฟลายฮาล์ฟที่เก่งที่สุดในโลก" ได้เลยครับ

ข้อมูลจาก https://www.youtube.com/watch?v=urjWyluCcno





ประวัติความเป็นมาของกีฬารักบี้ฟุตบอล

          รักบี้ฟุตบอล (อังกฤษ: Rugby Football) หรือเรียกย่อกันว่า รักบี้ เป็นกีฬาชนิดหนึ่งถือกำเนิดขึ้นจากโรงเรียนรักบี้ (Rugby School) ในเมืองรักบี้ ในเขตวอร์วิกเชียร์ ประเทศอังกฤษ เริ่มต้นจาก ในปี ค.ศ. 1826 ขณะนั้นเป็นการแข่งขันฟุตบอล ภายในของโรงเรียนรักบี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองรักบี้ ประเทศอังกฤษ ผู้เล่นคนหนึ่งชื่อ วิลเลี่ยม เวบบ์ เอลลิส (William Webb Ellis) [1] ได้ทำผิดกติกาการแข่งขันที่วางไว้ โดยวิ่งอุ้มลูกบอลซึ่งตัวเขาเองไม่ได้เป็นผู้เล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตู และได้วิ่งอุ้มลูกบอลไปจนถึงเส้นประตูฝ่ายตรงข้าม เขาจะจงใจหรือไม่ก็ตามแต่ แต่การเล่นที่นอกลู่นอกทางของเขาได้เป็นที่พูดถึงอย่างแพร่หลาย ในหมู่ผู้เล่นและผู้ดูจนแพร่กระจายไปตามโรงเรียนต่างๆในอังกฤษ โดยเฉพาะในหมู่นักเรียนของโรงเรียนเคมบริดจ์ ได้นำเอาวิธีการเล่นของ นายอีลลีส ไปจัดการแข่งขันโดยเรียกชื่อเกมชนิดใหม่นี้ว่า รักบี้เกมส์ (Rugby Games) ภายหลังจากนั้นก็เป็นที่นิยมเล่นกันมากขึ้น ทั้งได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขการเล่นเรื่อยมาในประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1823 จึงถือได้ว่า รักบี้ฟุตบอลปกติอาจทำแต้มด้วยการวางทรัยหรือเตะ

          รักบี้ฟุตบอลยังเป็นต้นกำเนิดของกีฬาอเมริกันฟุตบอลและแคนาเดียนฟุตบอลด้วย
ข้อมูลจาก ; https://th.wikipedia.org




 ข้อมูลจาก https://www.youtube.com/watch?v=Xg9_Wg6qDxw

แนะนำตนเอง

ประวัติส่วนตัว
___________________________________________
ชื่อ : ศักดิ์สิทธิ์ เหลาเกิ้มหุ่ง
ชื่อเล่น : เฉินหลง
เกิด : วันที่ 6 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537
อายุ : 22 ปี
ภูมิลำเนา : บ้านเลขที่ 135 หมู่ 8 ต.กำแพง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด
E-Mail : Saksit20241@gmail.com
เบอร์โทร : 087-2091785
คติประจำใจ : ชีวิตมันต้องเดินตามหาความฝัน
งานอดิเรก : เล่นกีฬารักบี้ฟุตบอล,ออกกำลังกายเข้ายิม
ปัจจุบันกำลังศึกษา :  สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม