ขนาดสนาม ก. สนามการเล่นไม่เกิน 100 เมตร กว้างไม่เกิน 70 เมตร ในเขตประตูยาวไม่เกิน 22 เมตร ข. ความยาวและความกว้างของพื้นที่การเล่นดูได้จากแผนภูมิและต้องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค. พื้นที่ระหว่างเส้นประตูกับเส้นลูกตายต้องไม่น้อยกว่า 10 เมตร เส้นสนาม ก. เส้นทึบ ประกอบด้วย เส้นประตู เส้น 22 เมตร เส้นกึ่งกลางสนาม เส้นข้างสนาม ข. เส้นประ ประกอบด้วย เส้น 10 เมตร เส้น 5 เมตร รูปแบบของเสาและประตูและคาน ก. เสาประตู กว้าง 5.6 เมตร ข. คานถูกวางไว้ระหว่างเสาทั้งสองอยู่เหนือพื้น 3 เมตร ค. ความสูงของเสาอย่างน้อย 3.4 เมตร จากคานขึ้นไป ง. เบาะหุ้มเสาเมื่อติดกับเสาประตูแล้วต้องมีความหนาไม่เกิน 300 มิลลิเมตร
![](https://rbnisarat.files.wordpress.com/2015/06/playin_area.gif)
บอล ( The Ball )
รูปร่าง ของลูกบอลต้องเป็นรูปไข่ และทำดัวยวัตถุ 4 ชิ้นประกอบกัน ขนาด ความยาว 280-300 มม. เส้นรอบวง (ด้านยาว) 760-790 มม. เส้นรอบวง (ด้านกว้าง) 580-620 มม. วัสดุ เป็นหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ที่มีลักษณะที่คล้ายหนังไม่ติดโคลนและง่ายต่อการจับ น้ำหนัก 400-440 กรัม ความดันลม 0.67-070 กก.ต่อ ลบ.ซม. หรือ 9 1/2 – 10 ปอนด์ต่อ ลบ.นิ้ว
![](https://rbnisarat.files.wordpress.com/2015/06/ball-dimensions.gif?w=300&h=215)
จำนวนผู้เล่น ( Number Of Player – The Team )
ทีม ( team ) ทีมหนึ่งจะมีผู้เล่น 15 คน ซึ่งลงเล่นในสนามรวมทั้งผู้เล่นสำรองเพื่อเปลี่ยนตัว การเปลี่ยนตัว เมื่อผู้เล่นเกิดบาดเจ็บจะถูกเปลี่ยนตัวโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ผู้เล่นสำรอง คือผู้เล่นี่เปลี่ยนลงไปแทนผู้เล่นในสนามตามกติกา จำนวนผู้เล่นในสนามมากที่สุด : ไม่เกิน 15 คน เมื่อมีผู้เล่นน้อยกว่า 15 คน อนุญาติให้มีผู้เล่นน้อยกว่า 15 คนได้แต่จะต้องมีผู้เล่นในสกรัมไม่น้อยกว่า 5 คนตลอดเกม การเปลี่ยนตัวถาวร ผู้เล่นที่บาดเจ็บสามารถเปลี่ยนผู้เล่นสำรองลงไปเล่นชั่วคราวได้แต่ถ้า เปลี่ยนตัวถาวรแล้วจะกลับลงไปเล่นอีกไม่ได้ การเปลี่ยนตัวชั่วคราวในกรณีผู้เล่นบาดเจ็บจะเปลี่ยนลงไปได้เมื่อเกิดลูกตาย และผู้ตัดสินอนุญาติ การเปลี่ยนตัวชั่วคราว ก. เมื่อผู้เล่นบาดเจ็บมีเลือดออก หรือมีแผลเป็นต้องออกมาปฐมพยาบาลกรณีนี้สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นลงไปเล่น ชั่วคราวได้โดยไม่นับจำนวนครั้ง หรือผู้เล่นที่เปลี่ยนตัว ข. ถ้าผู้เล่นที่เปลี่ยนลงไปชั่วคราวบาดเจ็บ ก็สามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้อีก ค. ถ้าผู้เล่นที่เปลี่ยนลงไปชั่วคราวทำผิดกติกาจนถูกให้ออกจากสนามผู้เล่นที่ ถูกเปลี่ยนไม่สามารถกลับลงมาเล่นได้
เครื่องแต่งกาย ( Player”s Clothing )
เครื่องแต่งกายของผู้เล่น คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้เล่นสวมใส่ เสื้อ กางเกงขาสั้นและกางเกงชั้นในและถุงเท้า เครื่องแต่งกายเพิ่มเติมของผู้เล่น ก.ผู้เล่นอาจจะสวมวัสดุที่ยิดหยุ่นและสามารถทำความสะอาดได้ ข.ผู้เล่นอาจจะสวมใส่เครื่องป้องกันหน้าแข้ง ภายในถุงเท้า ค.ผู้เล่นอาจจะใส่สนับข้อเท้าภายในถุงเท้า ซึ่งไม่ยาวเกิน 1 ส่วน 3 ของความยาวของหน้าแข้ง ง.ผู้เล่นอาจจะสวมถุงมือ ชนิดไม่มีนิ้ว จ.ผู้เล่นอาจจะสวมที่รองไหล่ที่ทำด้วยวัสดุที่นุ่มและบาง ซึ่งอาจจะเน้นติดกับเสื้อ ซึ่งไม่หนาเกิน 1 ซม. ฉ.ผู้เล่นอาจจะใส่ฟันยาง ช.ผู้เล่นอาจจะสวมเครื่องป้องกันศรีษะ ที่ทำจากวัสดุนุ่มและบาง ซ.ผู้เล่นอาจจะใช้ผ้าพันแผลเพื่อปิดแผลได้ ฌ.ผู้เล่นอาจจะพันผ้าเทปหรือวัสดุอื่น เพื่อป้องกันการบาดเจ็บได้ ปุ่มรองเท้า ก.ปุ่มรองเท้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน British Standard BS6366 1983 หรือมาตรฐานเทียบเท่า ข.ปุ่มรองเท้าต้องเป็นรูปทรงกลม และติดแน่นที่พื้นรองเท้า ค.ปุ่มของรองเท้าต้องมีขนาดดังนี้ ไม่ยาวเกิน 18 มม. วัดจากพื้น เส้นผ่าศูนย์กลางปลายปุ่มอย่างน้อย 10 มม.เส้นผ่าศูนย์กลางของฐานปุ่มอย่างน้อย 13 มม. เส้นผ่าศูนย์กลางของวงแหวนสวมเกลียวของปุ่มอย่างน้อย 20 มม ง.พื้นรองเท้าที่มีหลายปุ่มใช้ได้ แต่ต้องไม่แหลม
![](https://rbnisarat.files.wordpress.com/2015/06/stud-size.gif?w=300&h=289)
เวลา ( Time )
ผู้ตัดสิน การแข่งขันทุกครั้ง จะอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่การแข่งขัน จึงประกอบด้วย ผู้ตัดสิน และผู้กำกับเส้น และให้รวมถึงผู้ตัดสินสำรอง และผู้กำกับเส้นสำรอง ทำหน้าที่ช่วย ผู้ตัดสิน ทางด้านเทคนิค ผู้ควบคุมเวลา แพทย์สนาม เจ้าหน้าที่เทคนิค เจ้าหน้าที่สนาม และเด็กเก็บลูก หน้าที่ของผู้ตัดสินก่อนการแข่งขัน ก.การเสี่ยงเลือกเล่น ผู้ตัดสินจะจักการเสี่ยงการเล่น ดดยให้หัวหน้าทีมทำการเสี่ยง ผู้ที่จะชนะการเสี่ยงจะเป็นผู้เลือกเตะเริ่มหรือเลือกแดน ถ้าผู้ชนะเลือกแดน อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้เตะเริ่มเล่น ข.การตรวจเครื่องแต่งกายผู้เล่น ผู้ตัดสินจะต้องตรวจเครื่องแต่งกายของผู้เล่นหรืออาจจะให้ผู้กำกับเส้นเป็น ผู้ตรวจก็ได้ ค.ผู้กำกับเส้น ผู้ตักสินอาจจะแนะนำผู้กำกับเส้นเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบหรือข้อตกลง ให้เข้าใจกัน ข้อจำกัดของผู้ตัดสิน ผู้ตัดสินจะต้องไม่ให้ข้อแนะนำทีมใดทีมหนึ่งก่อนการแข่งขัน ขณะแข่งขัน หน้าที่ของผู้ตัดสินในขณะแข่งขัน ก.ผู้ตัดสินจะสวมวิญญาณผู้พิพากษาให้เป็นไปตามกฏระเบียบกติกา ข.เมื่อฝ่ายจัการแข่งขันเป็นผู้ที่มีอำนาจในการใช้กฏระเบียบให้เป็นไปตามกติกาของ IRB ผู้ตัดสินจะต้องใช้กติกานี้ในการแข่งขัน ค.ผู้ตัดสินเป็นผู้รักษาเวลาควบคุมเวลา ง.ผู้ตัดสินเป็นผู้ควบคุมคะแนน จ.ผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาติให้ผู้เล่นออกนอกสนาม ฉ.ผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาติในการเปลี่ยนผู้เล่นในการเข้าไปในสนาม ช.ผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาติให้แพทย์ประจำทีม หรือผู้ช่วยแพทย์ประจำทีมเข้าไปในสนามตามกติกา ซ.ผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาติให้โค้ชเข้าไปในสนามระหว่างพักครึ่งเวลาเพื่อที่ได้นักกีฬา การโต้แย้งผู้ตัดสิน ผู้เล่นทุกคนต้องเครพการตัดสินของผู้ตัดสิน จะต้องไม่โต้เถียงการตัดสินใจของผู้ตัดสิน จะหยุดการเล่นทันทีที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีด ยกเว้นการเป่าเริ่มเล่น การตัดสินเปลี่ยนคำตัดสิน ผู้ตัดสินอาจจะเปลี่ยนการตัดสินเมื่อผู้กำกับเส้นยกธงได้สัญญาณหรือแสดงท่า ทางเมื่อเห็นการเล่นผิดกติกา ใบเหลืองและใบแดง ก.เมื่อผู้เล่นถูกเตือน ผู้ตัดสินจะให้ใบเหลือง ข.เมื่อผู้เล่นถูกให้ออกจากสนาม ผู้ตัดสินจะให้ใบแดง
โดยการเตะลูกที่วางบนพื้นสนามที่กึ่งกลางสนามไปให้ถึงเส้น 10 เมตรของฝ่ายตรงข้าม เมื่อเริ่มเล่นครึ่งเวลาแรก และครึ่งเวลาหลังเท่านั้น หลังจากเตะเริ่มเล่น ผู้เล่นที่อยู่ในสนามสามารถเล่นได้โดยการจับลูก วิ่งพร้อมลูก ส่งลูกเตะลูก ส่งลูกให้ผู้เล่นคนอื่น จับคู่ต่อสู้ แย่งลูก เก็บลูก ทำสกรัม รัค มอล แถวทุ่ม นำลูกไว้วางในเขตประตูฝ่ายตรงข้าม ซึ่งการเล่นจะต้องเป็นไปตามกติกาการแข่งขัน เมื่อฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ให้อีกฝ่ายหนึ่งมาเริ่มเล่นใหม่โดยการเตะลูกพร้อม (DROP KICK) ที่กึ่งกลางสนามไปให้ถึงเส้น 10 เมตรของฝ่ายที่ทำคะแนนได้ ถ้าฝ่ายเตะลูกเริ่มเล่น เตะลูกเข้าไปในเขตประตูของ ฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นไม่เอาลูกออกมาเล่นแล้วกดลูกในเขตประตูของตนเอง ให้ทำสกรัมที่กึ่งกลางสนาม ฝ่ายตรงข้าม เป็นฝ่ายใส่ลูกเข้าสกรัม
กฏของการได้เปรียบจะเป็นส่วนหนึ่งของกติกาการแข่งขัน จุดประสงค์เพื่อให้การเล่นดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเกมหยุดน้อยที่สุด แม้จะมีการละเมิด หรือกระทำผิดกติกา ถ้าทีมที่ไม่ได้กระทำผิดได้เปรียบผู้ตัดสินจะไม่เป่าหรือหยุดการเล่น การได้เปรียบในการปฏิบัติ ก. ผู้ตัดสินจะเป็นผู้ตัดสินว่าทีมได้เปรียบการเล่นหรือไม่ผู้ตัดสินต้องมีความรอบคอบเมื่อมีการตัดสินใจ ข.การได้เปรียบในด้านเทคนิค หรือการได้เปรียบโอกาสในการเล่น ค.การได้เปรียบแดน หมายถึง การได้พื้นที่ ง.การได้เปรียบเทคนิคการเล่น หมายถึง อิสระจากฝ่ายตรงข้ามในการเล่นลูกตามที่เขาต้องการที่จะให้การได้เปรียบเกิดขึ้นเมื่อการได้เปรียบไม่เกิดขึ้น การได้เปรียบจะต้องชัดเจนและเป็นจริง ถ้าทีมที่ได้เปรียบแต่ไม่ได้เปรียบผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดหยุดเกม และกลับมาเล่น ณ. จุดที่มีการกระทำผิด หรือละเมิดกติกา การได้เปรียบไม่ได้ถูกนำมาใช้เมื่อ ก.โดนตัวผู้ตัดสิน การได้เปรียบจะไม่เกิดเมื่อลูกหรือผู้เล่นที่ถือลูกไปกระทบหรือโดนตัวผู้ ตัดสิน ข.ลูกออกจากช่องกึ่งกลางสกรัม ค.สกรัมหมุน มากกว่า 90 องศา ง.สกรัมแตก หรือยุบ ผู้ตัดสินต้องเป่านกหวีดทันที จ.ผู้เล่นถูกดันยกขึ้นในการทำสกรัม ผู้ตัดสินต้องเป่านกหวีดทันที เป่านกหวีดทันทีเมื่อไม่มีการได้เปรียบเกิดขึ้น การละเมิดกติกามากกว่า 1 ครั้ง ก.ถ้ามีการละเมิดกติกามากกว่า 1 ครั้ง โดยทีมเดิมผู้ตัดสินจะใช้กฏการได้เปรียบ ข.ถ้าการได้เปรียบจากการละเมิดกติกาของทีมหนึ่งแล้วอีกทีมหนึ่งเกิดกระทำผิดตามมาผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดทันทีและใช้การกระทำผิดอันแรก
วางทรัยได้ 5 คะแนน เตะลูกเข้าประตูหลังจากวางทรัยแล้วได้อีก 2 คะแนน เรียกว่าได้ 1 ประตู เตะลูกโทษ(PENETAL KICK)เข้าประตูได้ 3 คะแนน เตะลูกพร้อม (DROP KICK) เข้าประตูได้ 3 คะแนน (แต่การเตะลูกพร้อมจากลูกเตะกินเปล่า (FREE KICK) แม้จะเตะเข้าประตูก็ไม่ได้คะแนน)
การเล่นผิดกติกา ( Foul Play )
กติการในเกมส์รักบี้ ละเอียดมากผู้ตัดสินต้องสามารถรู้ทันการผิดกติกาทุกรูปแบบได้แก่ การแทกเกิลสูงกว่าระดับอก การกระโดดระหว่างถูกแทกเกิล การทำร้ายร่างกายนอกกติการ เช่น การเหยียบ การใช้ศอก การล้มเล่นลูก การพยายามทำลูกตาย การล้ำหน้าเข้าเล่นลูก การบังบอล
![](https://rbnisarat.files.wordpress.com/2015/06/jumper.gif?w=180&h=196)
![](https://rbnisarat.files.wordpress.com/2015/06/high-tackle-12.gif?w=234&h=218)
![](https://rbnisarat.files.wordpress.com/2015/06/obstruction11.gif?w=184&h=229)
ล้ำหน้า / ไม่ล้ำหน้าในการเล่นทั่วไป ( Of Side / No Side In General Play )
ผู้เล่นที่อยู่ตำแหน่ง “ล้ำหน้า” หมายถึง ผู้เล่นที่อยู่หน้า “ลูกบอล” ขณะที่ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันกำลังเล่นอยู่ และเป็นผู้ถูกลูกหรือเล่นลูกครั้งสุดท้าย รวมทั้งฝ่ายเดียวกันที่อยู่ข้างหลังได้เตะลูกข้ามไปข้างหน้าแล้ว ก็ยังถือว่า “ล้ำหน้า” ผู้เล่นที่”ล้ำหน้า” อยู่ ต้องพยายามแสดงตัวว่าไม่เข้าเล่นบอลโดยถอยห่างจากบอล เอามือชูหรือวางบนหัว แล้วรีบกลับมาหลังบอลให้เร็วที่สุด
ผู้เล่นส่งลูกไปข้างหน้าของตนเอง หรือยื่นลูกไปให้เพื่อนร่วมทีมที่อยู่ข้างหน้าตนเอง เรียกว่า THROW-FORWARD ผู้เล่นรับลูกหรือเอามือไปโดนลูก แล้วลูกนั้นกระเด็นไปข้างหน้าไปถูกกับพื้นสนามหรือไปโดนมือหรือตัวผู้เล่น ฝ่ายตรงข้าม เรียกว่า KNOCK-ON หากมีการ THROW-FORWARD หรือ KNOCK-ON ฝ่ายทำผิดจะเสีย สกรัม
![](https://rbnisarat.files.wordpress.com/2015/06/knockon.gif?w=216&h=266)
การเตะเริ่มและการเริ่มเล่นใหม่ ( Kick – Off And Restart Kicks )
โดยการเตะลูกที่วางบนพื้นสนามที่กึ่งกลางสนามไปให้ถึงเส้น 10 เมตรของฝ่ายตรงข้าม เมื่อเริ่มเล่นครึ่งเวลาแรก และครึ่งเวลาหลังเท่านั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ให้อีกฝ่ายหนึ่งมาเริ่มเล่นใหม่โดยการเตะลูกพร้อม (DROP KICK) ที่กึ่งกลางสนามไปให้ถึงเส้น 10 เมตรของฝ่ายที่ทำคะแนนได้ ถ้าฝ่ายเตะลูกเริ่มเล่น เตะลูกเข้าไปในเขตประตูของ ฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นไม่เอาลูกออกมาเล่นแล้วกดลูกในเขตประตูของตนเอง ให้ทำสกรัมที่กึ่งกลางสนาม ฝ่ายตรงข้าม เป็นฝ่ายใส่ลูกเข้าสกรัม
เมื่อมีลูกตกอยู่ในสนาม จากการ แตะ หรือ knock back ถือว่าลูกยังไม่ตายและไม่มีผู้เกี่ยวข้อง ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าครอบคองบอลได้โดยการก้มเก็บหรือ เตะเลี้ยงไป หรือ การล้มคร่อมลูก เพื่อสร้างรัคขึ้น ฝ่ายที่เข้าถึงลูกได้ก่อนในกรณีเกิดรัคถือว่าฝ่ายนั้นนำลูกเข้าไปในรัค
การแท็คกิ้ล : ล้มลงสู่พื้น ( Tackle : Ball – Carrier Brough To Ground )
เมื่อมีการแทกเกิลเกิดขึ้นและการแทกเกิลสมบูรณ์ จะเกิดกลุ่มรัคขึ้นในกรณีที่ลูกไม่ Knock ON ผู้ทำการแทกเกิลต้องรีบลุกขึ้น ไม่บังทางการเล่นรัค ผู้ถูกแทคเกิลต้องรีบปล่อยบอล และรีบลุกมาเล่น หากยังไม่มีกลุ่มยื้อแย่งเกิดขึ้น คนที่ยืนอยู่สามาถคว้าบอลไปเล่นต่อได้ทันที
รัค ( Ruck )
รัค หมายถึง การเล่นอีกแบบหนึ่งที่ผู้เล่นหนึ่งคนหรือมากกว่จากผู้เล่นทั้งสองฝ่ายที่ยืน ด้วยเท้าทั้งสองบนพื้นมีการมัดกันหรือโอบรัดกันเหนือลูกบอล การทำรัค ผู้เล่นที่ร่วมในกลุ่มรัค เมื่ออยู่ในรัคต้องใช้เท้าเพื่อครอบครองลูกไว้โดยไม่ผิดกติกา รูปแบบรัค รัดิกิดขึ้นได้ในสนามเล่นเท่านั้น ผู้เล่นที่ยืนอยู่บนพื้นอย่างน้อยหนึ่งคนโอบรัดกับฝ่ายตรงข้าม สรุปรัค: ลูกอยู่บนพท้นมีผู้เล่นอย่างน้อย 2 คน ยืนอยู่ด้านบนโดยต้องมาจากทั่งสองฝ่าย (ฝ่ายละ 1 คน) การเข้าร่วมในรัค ก. การทำรัค การเข้าร่วมเล่นเป็นส่วนหนึ่งในรัคจะต้องไม่ให้ศรีษะและไหล่อยู่ต่ำกว่า สะโพก บทลงโทษลูกกินเปล่า ข. ผู้เล่นที่เข้าร่วมในรึคจะต้องมัดด้วยแขนอย่างน้อยหนึ่งข้างกับฝ่ายเดียวกัน ค.การวางมือบนผู้เล่นคนอื่นในรัคไม่ใช่การมัด ง. ผู้เล่นทุกคนที่ทำรัคจะต้องยืนด้วยเท้าทั่งสอง บทลงโทษ : ลูกโทษ การทำรัค ก. ผู้เล่นในรึคจะต้องพยายามยืนด้วยเท้าทั่งสอง ข. ผู้เล่นจะต้องไม่เจตนาล้มหรือยุบรัค เป็นการเล่นที่อันตราย ค. ผู้เล่นจะต้องไม่เจตนาล้มรัค เป็นการเล่นที่อันตราย ง. ผู้เล่นจะต้องไม่กระโดดทับลงไปในกลุ่ม บทลงโทษ : ลูกโทษ ซ . ผู้เล่นจะไม่ให้ศรีษะ และไหล่ต่ำหว่านะโพกของตนเอง บทลงโทษ : ลูกกินเปล่า ฌ. ผู้เล่นที่อยู่ในรัคต้องไม่เหยียบผู้เล่นที่นอนอยู่บนพื้นต้องพยายามก้าว ข้าม บทลงโทษ : ลูกโทษสำหรับการเล่นที่เป็นอันตราย การกระทำผิดอื่นๆ ในรัค ก. ผู้เล่นจะต้องไม่เอาลูกกลับเข้าไปในรัคอีก บทลงโทษ : ลูกกินเปล่า ข. ผู้เล่นจะต้องไม่ใช้มือเล่นลูกในรัค ค. ผู้เล่นต้องไม่เก็บลูกในรัคด้วยขาของเขา ง.ผู้เล่นที่นอนอยู่กับพื้นใกล้รัคต้องพยายามเคลื่อนตัวออกไปและไม่ไปรบกวน การเล่นลูกในรัค หรือขณะที่ลูกจะออกจากรัค จ. ผู้เล่นจะต้องไม่ล้มหรือทับลูกที่กำลังจะออกจากรัค บทลงโทษ:ลูกกินเปล่า ฉ. ผู้เล่นจะต้องไม่แสดงหรือกระทำให้ฝ่ายตรงข้ามคิดว่าลูกออกจาก ในขณะที่ยังมีสภาพเป็นรัคอยู่ บทลงโทษ:ลูกกินเปล่า การล้ำหน้าที่รัค ก.เส้นล้ำหน้ามี2เล่นคือเส้นที่ขนานกับเส้นประตูของแต่ละฝ่ายและอยู่หลัง เท้าสุดท้ายของผู้เล่นในรัคแต่ละฝ่าย ข. ผู้เล่นที่อยู่ในรัคถ้าไม่ก็ต้องอยู่หลังเล่นส้ำหน้าโดยทันที ถ้าผู้เล่นคนใดยังคงอยู่หน้ารัค ผู้เล่นคนนี้นจะล้ำหน้า ค. ผู้เล่นที่เข้าาวมในรัค ผู้เล่นทั่งหมดที่เข้าาวมในรัค จะต้องอยู่หลังเท้าสุดท้ายของผู้เล่นฝ่ายเดียวกันถ้าผู้เล่นที่อยู่ในรัคไป อยู่ในฝ่ายตรงข้ามหรืออยู่หน้าเพื่อนผู้เล่นจะล้ำหน้า บทลงโทษ:ลูกโทษ ณ จุดที่ฝ่ายตรงข้ามล้ำหน้า ง. ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในรัค ถ้าผู้เล่นอยู่ห้าเส้นล้ำหน้าและไม่ได้เข้าร่วมในรัคผู้เล่นคนนี้นจะต้องถอย มาอยู่หลังเส้นล้ำหน้าทันที บทลงโทษ:ลูกโทษ ณ จุดที่ฝ่ายตรงข้ามล้ำหน้า จ. ผู่เล่นที่ถอนตัวออกจากรัค ถ้าผู้เล่นที่ถอนตัวออกมาจากรัค จะต้องรีบถอนตัวออกมาทันทีหลังเส้นล้ำหน้า ผู้เล่นที่ไม่ล้ำอาจจะเข้าร่วมในรัคได้อีก แต่ต้องเข้าร่วมหลังเท้าสุดท้ายตามแนวเส้นล้ำหน้า บทลงโทษ : ลูกโทษ ณ จุดที่ฝ่ายตรงข้ามล้ำหน้า รัคสิ้นสุด หรือหมดสภาพ รัคจะหมดสภาพลงเมื่อลูกได้ออกจากรัค หรือเมื่อลูกอยู่บนเขตประตู รัคยังไม่หมดสภาพ ก.รัคยังไม่หมดสภาพเมื่อลูกไม่สามารถเล่นต่อไปได้แต่จะให้ทำสกรัมต่อไปทีม ที่ทำให้รัคเคลื่อนไปข้างหน้าก่อนที่ลูกไม่ออกจะเป็นฝ่ายได้ใส่ลูกหรือผู้ ตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าทีมใดเป็นฝ่ายใส่ลูกก่อนก็ให้ทีมที่เคลื่อนไป ข้างหน้าก่อนเกิดรัคจะเป็นฝ่ายได้ใส่ลูก ข. ก่อนผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้สกรัม ผู้ตัดสินจะตัองพิจารณาว่าลูกสามารถออกมาจากรัคได้หรือไม่ซึ่งอาจจะใช้เวลา บ้าง แต่ถ้าเห็นว่ลูกไม่สามารถออกจารัคได้ก็สั่งให้ทำสกรัม
มอล ( Maul )
มอล (MAUL) เกิดขึ้นเมื่อมีผู้เล่นทั้งสองฝ่ายอย่างน้อยฝ่ายละ 1 คน มายืนล้อมผู้เล่นที่ยืนกอดลูกอยู่เพื่อแย่งลูกในมือนั้น ถ้ามีหลายๆ คนในกลุ่มมอล มือผู้เล่นจะต้องโอบมัดผู้เล่นฝ่ายเดียวกันอย่างน้อย 1 ข้าง (ถ้าลูกตกถึงพื้นจะกลายเป็นรัค) ส่วนกติกาจะเหมือนกันรัค
มาร์ค ( Mark )
มาร์ค (Mark) เกิดขึ้นเมื่อทีมหนึ่งได้เตะลูกเข้าในเขตเส้น 22 ม. ของฝ่ายตรงข้าม และฝ่ายตรงข้ามสามารถรับลูกได้โดยลูกไม่ตกสู่พื้นก่อน แล้วตัดสินใจตะโกนมาร์ค ฝ่ายที่ได้มาร์ค จะได้ลูกฟรีคิกส์หน้าเส้น 22 ม. ของฝ่ายตัวเอง
ลูกบอล, แถวทุ่มและล้ำหน้าที่แถวทุ่ม ( Touch, Line Out And Line Out Off – Side )
แถวทุ่ม ผู้เล่นอย่างน้อยฝ่ายละ 2 คน (นิยมเล่นกันฝ่ายละ 7 คน) มาเข้าแถวเป็นแนวเดียวกันทั้งสองฝ่ายต้องยืนห่างกัน 1 เมตร รอกระโดดขึ้นแย่งลูกที่จะโยนเข้ามากลางช่องแถวทุ่มที่เว้นห่างกัน 1 เมตรนั้น (ฝ่ายเดียวกันยืนชิดกันหรือห่างกันก็ได้) จำนวนผู้เล่นในแถวทุ่ม บังคับโดย ฝ่ายที่โยนลูกเข้ามาจะยืนกี่คนก็ตาม อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องยืนอยู่ในแถวทุ่มจำนวนคนเท่ากันหรือน้อยกว่าได้ (จำนวนคนมากกว่าไม่ได้) คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องจะต้องยืนห่างจากแถวทุ่มออกไปทั้งสองฝ่ายเป็นระยะ 10 เมตร และจะต้องอยู่ห่าง 10 เมตร เช่นนี้เรื่อยไป (ขึ้นมาเล่นไม่ได้) จนกว่า แถวทุ่ม และรัคหรือมอลที่เกิดจากแถวทุ่มจะส่งออกมาให้ ผู้เล่นที่ยืนรอรับลูกอยู่ (สกรัมฮาล์ฟ) หรือจนกว่ากลุ่มรัคหรือมอลที่เกิดจากแถวทุ่มจะเคลื่อนไปพ้นเส้นแนวที่ทุ่ม ลูกเข้ามาทั้งกลุ่ม (เส้นแนวทุ่มลูกเข้าแถวทุ่มคือจุดที่ผู้กำกับเส้นยังคงยืนอยู่ที่ข้างเส้น ออกริมสนาม) เมื่อโยนลูกเข้ามาตามแนวทุ่มลูกกลางแถวทุ่ม ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายที่กระโดดขึ้น ใช้มือเดียว ปัดลูกไปให้ฝ่ายของตน จะต้องใช้มือข้างที่อยู่ด้านในของแถวทุ่มปัดลูกเท่านั้น การทุ่มลูกเร็ว (QUICK THROW-IN) มีข้อบังคับพิเศษ คือ 1. จุดที่โยนลูกเข้าสนามเล่นจะโยนตรงไหนก็ได้ ระหว่างจุดที่ลูกออกไปจนตลอดแนวเส้นริมสนามจนถึงเส้นประตูของฝ่ายที่ได้ทุ่ม ลูก 2. ไม่ต้องรอให้มีผู้เล่นมาเข้าแถวทุ่ม ไม่ต้องมีผู้เล่นตรงที่จะโยนลูกเข้าไปก็ได้ นั่นคือ เล่นเองโดยคนที่โยนลูกเข้าไปได้ 3. ใช้ลูกที่ออกไปลูกนั้น มาโยนเข้าสนามเล่น คนที่โยนลูกเข้าสนาม ต้องไปเก็บลูกนั้นมาด้วยตนเอง ต้องโยนลูกเข้าสนาม ให้ตั้งฉากกับเส้นออกริมสนาม ต้องโยนลูกเข้าสนามไม่น้อยกว่า 5 เมตร (ต้องทำให้ถูกต้องทั้งหมดในข้อ 3) ที่แถวทุ่ม แบ่งพวกล้ำหน้าออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ล้ำหน้ากลุ่มที่ร่วมอยู่กับแถวทุ่ม เส้นแนวกึ่งกลางแถวทุ่มอยู่ระหว่างเส้นจากริมสนาม 5 เมตรถึงเส้นจากริมสนาม 15 เมตร เป็นเส้นล้ำหน้าในแถวทุ่ม พวกที่ร่วมอยู่กับแถวทุ่มทั้งหมดจะก้าวเท้าล้ำไปยังฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ รวมทั้งจะเคลื่อนตัวล้ำเส้น 15 เมตร จากริมสนามไปไม่ได้เช่นกันจนกว่าแนวทุ่มจะสิ้นสุดหรือลูกออกจากแถมทุ่มแล้ว กลุ่มที่ 2 ล้ำหน้ากลุ่มที่ไม่ได้ร่วมเข้าแถวทุ่ม หมายถึง พวกกองหลังและพวกที่ถอยลงมาจากกลุ่มแถวทุ่ม พวกนี้จะต้องอยู่ห่างจากแถวทุ่มออกมา 10 เมตร โดยมีเส้นสมมติลากขนานกับเส้นประตูตลอดความกว้างของสนามเป็นเส้นล้ำหน้าของ กลุ่มนี้ห่างจากกลุ่มของพวกที่ร่วมอยู่กับแถวทุ่ม 10 เมตร พวกที่ไม่ได้ร่วมเข้าแถวทุ่ม (กองหลังนั่นเอง) จะก้าวเท้าขึ้นไปเล่นได้เมื่อแถวทุ่มสิ้นสุด รัคและมอลเกิดจากแถวทุ่มส่งลูกออกมาแล้ว
สกรัม (Scrum)
ผู้เล่นอย่างน้อยฝ่ายละ 5 คน (นิยมเล่นฝ่ายละ 8 คน) ต้องมีแถวหน้า 3 คนเสมอแถวที่สองอีก 4 คน แถวหลังมักมีคนเดียวโอบมัดให้แน่นช่วยกันดันไปข้างหน้าแย่งลูกที่ใส่เข้าไป ในช่องกลางระหว่างสกรัม ใช้เท้าเพียงอย่างเดียวเขี่ยลูกกลับไปให้ฝ่ายตนเอง จะทำสกรัมเมื่อ:- 1. ผู้เล่นส่งลูกไปข้างหน้าของตนเอง หรือยื่นลูกไปให้เพื่อนร่วมทีมที่อยู่ข้างหน้าตนเอง (THROW-FORWARD) 2. ผู้เล่นรับลูกหรือเอามือไปโดนลูก แล้วลูกนั้นกระเด็นไปข้างหน้าไปถูกกับพื้นสนามหรือไปโดนมือหรือตัวผู้เล่น ฝ่ายตรงข้าม (เรียกว่า KNOCK-ON) 3. เกิดการสุมกันเอาลูกออกมาเล่นต่อไปไม่ได้ 4. เมื่อผู้เล่นฝ่ายรุกพยายามกดลูกวางทรัยแต่ลูกไม่แตะพื้นสนามเล่นในเขตประตู ของฝ่ายรับหรือลูกอยู่บนตัวผู้เล่นฝ่ายรับ ล้ำหน้า (OFF-SIDE) ที่สกรัม เส้นล้ำหน้าของฝ่ายตนเอง จะเป็นเส้นสมมติที่ลากขนานกับเส้นประตูอยู่ที่เท้าสุดท้ายของผู้เล่นในกรัม ของฝ่ายตน หากมีผู้เล่นกองหลังคนใดก้าวเท้าล้ำเส้นสมมตินี้ขึ้นไปข้างหน้าจะถือว่าล้ำ หน้าและเสียลูกโทษ ณ จุดนั้น ยกเว้น ผู้ใส่ลูกเข้าสกรัมทั้งสองฝ่าย (สกรัมฮาล์ฟ) ให้ใช้ลูกบอลที่อยู่ในสกรัมเป็นแนวล้ำหน้าของทั้ง 2 คน
ลูกโทษ และลูกกินเปล่า ( Penalty And Free Kick )
ลูกโทษ เกิดขึ้นเมื่อมีการทำผิดกติกาในเกมส์ เช่น การล้มเล่นลูก การล้ำหน้า การเล่นรุ่นแรง ฝ่ายที่ได้ลูกโทษจะมีโอกาสเตะกินระยะ หรือแตะเปิด(Tab) ลูกเล่น หากแตะกินระยะ ในเส้น 22 ม. จะได้ทุ่มเข้า ณ จุดที่ลูกออก หากแตะกินระยะ นอกเส้น 22 ม. จะได้ทุ่มเข้า ณ จุดที่เตะ หรือจุดที่ตกสู่พื้นสนามก่อนลูกออก หรือ ตั้งเตะเข้าประตูจะได้ 3 แต้ม ฝ่ายที่เสียลูกโทษต้องรีบถอยลงไป 10 เมตร จากจุดที่เสียโทษ หากถอยไม่ถึงไม่สามารถเล่นลูกได้ ถ้าพยายามเล่นลูก หรือขัดขวางทีมได้โทษ จะเสียโทษซ้ำ ลูกกินเปล่า เกิดขึ้นเมื่อมีการทำผิดได้แก่ การหลอกว่าบอลออกจากสกรัม รัค มอล การเข้าสกรัมในลักษณะเป็นอันตรายต่อตัวเอง ฝ่ายที่ได้ลูกกินเปล่าสามารถเตะกินระยะได้ แต่จะไม่ได้เป็นฝ่ายทุ่ม หากเตะเข้าประตูไม่นับเป็นประตู ยกเว้นจะแทปเปิดแล้ว DropKick เข้าประตู
เขตประตู ( In – Goal )
เขตประตู เป็นพื้นที่เข้าทำแต้มของฝ่ายตรงข้าม นับตั้งแต่เส้นประตู จากขอบสนามซ้ายถึงขวาสุด และเสาประตูด้วยกัน สามารถกำหนดแตกต่างได้ในแต่ละสนามแต่ต้องไม่สั้นหรือมากกว่ากติกากำหนด ฝ่ายบุกสามารถกดลูกสู่พื้นสนามได้ 1 ทรัย จะได้ 5 คะแนน การดันสกรัมให้ลูกในสกรัมข้ามเส้นไทร์ได้ 1 ทรัย จะได้ 5 คะแนน หากมีการKncok on หรือ Trow-Forward ให้ทำสกรัมที่เส้น 5 เมตร จากเส้นประตู
![](https://rbnisarat.files.wordpress.com/2015/06/in-goal_p1.gif?w=190&h=242)
![](https://rbnisarat.files.wordpress.com/2015/06/in-goal_p2.gif?w=171&h=240)
![](https://rbnisarat.files.wordpress.com/2015/06/in-goal_p3.gif?w=193&h=237)
ข้อมูลจาก https://rbnisarat.wordpress.com